บริการ

การขึ้นรูปด้วยการกลึง (CNC)


บริษัท สลาแมนเดอร์ จิวเวอรี่ รับกลึงชิ้นงานด้วยเครื่องกลึง CNC รับกลึงเหล็ก กลึงพลาสติก กลึงโลหะ ผลิตชิ้นงาน, งานส่วนประกอบ, แม่พิมพ์, กลึงงานตามแบบ หรือตามตัวอย่าง, ราคากลึงงานตามแบบ
เรารับกลึงด้วยเครื่องกลึง CNC (Lathe) สำหรับใช้ผลิตงานกลึง และเครื่อง CNC Machining Center (แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์) สำหรับผลิตงานมิลลิ่ง ซึ่งทางบริษัทฯจะผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องจักร CNC (Computer Numerical Control)
เราสามารถกลึงชิ้นงานที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 32 มม. เหมาะกับงานกลึงที่มีขนาดเล็ก
เราผลิตชิ้นงานตามแบบ (Drawing) หรือตามตัวอย่าง จะทำการวัดชิ้นงานตามตัวอย่างโดยละเอียด และจะส่งแบบ (Drawing) ให้ลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะสั่งผลิตชิ้นงาน หลังจากผลิตชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยแล้วจะทำการตรวจเช็ค (QC) ก่อนส่งให้ลูกค้า ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับ ชิ้นงานที่มีคุณภาพ

การขึ้นรูปด้วยการฉีดพลาสติก (Plastic Injection)


บริษัท สลาแมนเดอร์ จิวเวอรี่ รับผลิตชิ้นงานพลาสติก ประเภทเครื่องประดับ หรือชิ้นงานขนาดเล็ก ๆ เช่น อะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ของเล่นต่าง ๆ เรามีบริการตั้งแต่การออกแบบแม่พิมพ์ รับทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก การฉีดพลาสติก การประกอบชิ้นงานจนเสร็จเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์ หรือตามที่ลูกค้าต้องการ เราใช้วัตถุดิบคุณภาพเกรด A ชนิด PE, PP, PMMA, ABS เครื่องฉีดพลาสติก (Injection Machine) ขนาดตั้งแต่ 15 ตัน ถึง 80 ตัน สามารถรองรับการผลิตได้เป็นจำนวนมาก คุณภาพ และตรงตามเวลาที่กำหนด

การขึ้นรูปด้วยการหล่อ (Casting)


การหล่อของเราเป็นการหล่อขึ้นรูปจากการนำ Wax หรือเทียน มาทำการขึ้นแม่พิมพ์ แล้วนำไปสู่กระบวนการหล่อ เพื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นงานออกมา โดยใช้เครื่องหล่อโลหะ แบบสูญญากาศ ที่มีประสิทธิภาพสุง มีคุณภาพพร้อมทั้งมีฝ่ายควบคุมคุณภาพงานหล่อในทุกขั้นตอนการผลิต ซี่งการหล่อด้วยวิธีนี้ สามารถกำหนดวัตถุดิบที่ต้องการใช้เพื่อความรวดเร็ว ความสะดวก รวมถึงต้นทุนในกระบวนการ ซึ่งบริษัทฯ มีวัตถุดิบที่ใช้ในการหล่อหลากหลายประเภท ดังนั้นท่านจึงมั่นใจได้ว่าจะได้งานหล่อที่มีคุณภาพ ในราคาย่อมเยา กระบวนการหล่องานที่เปิดให้บริการมีครบวงจร ทั้ง 3 ขั้นตอน หรือ จะเลือกสั่งผลิตบางขั้นตอนตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมีให้เลือกดังนี้
1. ทำบล็อกยางซิลิโคน 2. ฉีดเทียน แต่งเทียน 3. หล่อชิ้นงาน

การเคลือบผิว (Coating)


ELECTRO PLATING

1. Rhodium plating
2. Silver plating
3. 14K, 18K Gold plating
4. 14K, 18K Rose gold plating
5. Anti-tarnish

PVD Coating Physical Vapor Deposition

1. Gold PVD
2. Rose gold PVD
3. Black PVD
4. Zircon gold PVD
5. Rainbow PVD
6. Dark blue PVD
7. Coffee PVD
8. Gun metal PVD

Anodize Titanium

1. Dark blue
2. Cobalt
3. Yellow
4. Purple
5. Rainbow
6. Turquoise
7. Green
8. Dark green

Anodize steel

1. Dark blue
2. Cobalt
3. Yellow
4. Purple
5. Rainbow
6. Green

การออกแบบเครื่องประดับ (Jewelry Design)


การออกแบบ คือ การวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบ ให้เกิดประโยชน์สัมพันธ์และความสวยงาม โดยเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับรูปแบบนั้น ๆ ด้วย โดยการออกแบบเครื่องประดับมีหลายองค์ประกอบและหลากหลายประเภท และที่เราสามารถออกแบบได้นั้นมีหลากหลายรูปแบบ และประเภท ดังนี้

  • การออกแบบงาน Body piercing ทุกประเภททั้งใช้ภายนอก และภายใน ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ และมีพลอยและงานเรียบหรือลงดำ-ลงenamel
  • การออกแบบงาน Jewelry และ jewelry matching set หลากหลายรูปแบบ เช่น pendant, ring, earring, necklace, bracelets, bangle, Anklet, beads, flat beads
  • การออกแบบงาน body piercing-jewelry ตามความต้องการของลูกค้า ทุกประเภท
  • การออกแบบงาน Accessory ที่สามารถนำมาประยุต์ใช้กับงานอื่น ๆ ได้ เช่น charm, ที่ห้อยพวงกุญแจ, ห้อยโทรศัพท์, Accessory ขนาดเล็กต่าง ๆ เพื่อให้งานมีความน่าสนใจ และเกิดรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น
  • การออกแบบงาน Fashion jewelry in trend
  • การออกแบบ Display ในรูปแบบต่าง ๆ และตรงตามกับลักษณะของงานที่ต้องการโชว์ ทุกรูปแบบ
  • การออกแบบลายเลเซอร์ เพื่อนำไปใช้กับงานต่าง ๆ ที่ต้องการ
  • การออกแบบกล่องหรือบรรจุภัณฑ์
  • การออกแบบลาย Tattoo เพื่อนำไปทำ sticker tattoo fashion
  • งานออกแบบภายใต้แบรนด์ KOOLKATANA ทั้งงาน Body piercing และ Jewelry ทุกประเภท
  • การออกแบบลาย Pattern ต่าง ๆ เพื่อนำไปทำ picture
  • การออกแบบแม่พิมพิ์ด้วยโปรแกรม 3D-CAD
  • การออกแบบไฟร์ Laser และการเลเซอร์ชิ้นงาน
  • การสร้างต้นด้วยเครื่อง CNC-WAX

การให้คำปรึกษา


การบริการให้คำปรึกษาระบบมาตรฐาน บริษัท สลาแมนเดอร์ จิวเวอรี่ จำกัด มีทีมที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ของแต่ละมาตรฐาน ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาระบบ พัฒนาบุคลากร และเรามุ่งมั่นต่อประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน
นี่คือมาตรฐานของเรา :

Footer-letter-2-2.png

ระบบการจัดการที่บริษัทฯ ได้รับรองมาตราฐาน

 
  • ISO 9001 : 2015 ระบบบริหารงานคุณภาพ ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2015
  • ISO 14001 : 2015 ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 14001 : 2015
  • ISO 45001 : 2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย การบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ISO 26000 : 2010 มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม มาตรฐานนี้ไม่ใช่มาตรฐานระบบการบริหารงาน ไม่มีส่วนไหนที่เป็นข้อกำหนด แต่เป็นเรื่องของการสมัครใจแสดง ความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

เครื่องมือการปรับปรุงการผลิต

 

5 ส.

กิจกรรม 5 ส. เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนงานด้านการผลิต และด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยประกอบไปด้วยเทคนิค 5 เรื่องดังนี้
1. สะสาง Seiri (เซริ) (ทำให้เป็นระเบียบ) คือ การแยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป
2. สะดวก Seiton (เซตง) (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้งานได้ทันที
3. สะอาด Seiso (เซโซ) (ทำความสะอาด) คือการปัดกวาดเช็ดถูสถานที่ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ
4. สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) (รักษาความสะอาด) คือ การรักษา และปฏิบัติ 3 ส. ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป
5. สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษา และปฏิบัติ 4 ส. หรือสิ่งที่กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย

ไคเซ็น

ไคเซ็นเป็นเทคนิควิธีอันหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานขององค์กร คำว่า “Kaizen” เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากแยกความหมายตามพยางค์แล้วจะแยกได้ 2 คำ คือ
“Kai” แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (change)
“Zen” แปลว่า ดี (good)

ไคเซ็นเป็นเทคนิควิธีในการปรับปรุงงานโดยมุ่งเน้นที่จะลดขั้นตอนในการทำงานลง เพื่อให้ได้ทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่สูงขึ้น และมุ่งปรับปรุงในทุก ๆ ด้านขององค์กร เพื่อยกระดับชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้สูงขึ้น

หลักในการเริ่มต้นแนวคิดไคเซ็น (Kaizen) คือใช้หลักการ “เลิก-ลด-เปลี่ยน” ดังต่อไปนี้
1. การเลิก หมายถึง การวิเคราะห์ว่าขั้นตอนการทำงาน หรือสิ่งที่เป็นอยู่บางอย่างนั้นสามารถที่จะตัดออกไปได้หรือไม่ โดยพิจารณาจากความจำเป็น
2. การลด หมายถึง การพิจารณาว่าในการทำงานนั้นมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องกระทำซ้ำ ๆ กันไปมา หากว่าเราไม่สามารถยกเลิกกิจกรรมนั้นออกได้ก็ต้องพยายามลดจำนวนครั้งในการกระทำ เพื่อจะได้ไม่ต้องทำงานแบบซ้ำ ๆ กันโดยที่ไม่เกิดประโยชน์อันใด
3. การเปลี่ยน หมายถึง การเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยนวัสดุ เปลี่ยนทิศทาง หรือเปลี่ยนองค์ประกอบ เป็นต้น

การสนับสนุนโรงงาน

 

Wet Scrubber System

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ของเหลวดักจับฝุ่นหรืออนุภาคขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ และจับก๊าซมลพิษจากกระแสก๊าซได้ในขณะเดียวกัน โดยฉีดของเหลวเป็นละอองฝอยสู่กระแสก๊าซ หรือให้กระแสก๊าซไหลผ่านฟิล์มของเหลวด้วยความเร็วสูง หรือไหลผ่านชั้นวัสดุที่มีของเหลวเคลือที่ผิว เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ใกล้ละอองหรือหยดน้ำจะสัมผัสกับละอองน้ำด้วยกลไกหลัก 3 อย่าง คือการกระทบเนื่องจากความเฉื่อย การสกัดกั้น และการแพร่ โดยทั่วไปการกระทบเนื่องจากความเฉื่อยเป็นกลไกการจับอนุภาคที่สำคัญที่สุดของสครับเบอร์ หยดน้ำที่จับอนุภาคไว้เหล่านี้จะถูกแยกออกจากกระแสก๊าซโดยแรงโน้มถ่วง หรือให้กระแทกแผ่นกั้น (Baffles) หรือโดยแรงเหวี่ยง

ในการดักอนุภาคด้วยสครับเบอร์มี 3 ขั้นตอน คือ
1. อนุภาคสัมผัส และดักจับด้วยหยดของเหลวหรือฟิล์มของเหลว
2. แยกหยดของเหลวออกจากกระแสก๊าซ
3. บำบัดของเหลวที่จับอนุภาค (น้ำเสีย) ก่อนระบายทิ้ง

Dust Collection System

การกรองเป็นวิธีแยกอนุภาคออกจากกระแสก๊าซที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดวิธีหนึ่งโดยทั่วไปเครื่องกรองคือโครงสร้างที่เป็นรูพรุน ประกอบด้วยสารที่เป็ดเม็ดเล็กหรือเส้นใย ซึ่งจะกักกันอนุภาคไว้ และให้ก๊าซไหลผ่านช่องว่างของเครื่องกรอง สำหรับถุงกรองโดยปกติทำด้วยผ้าทอ(Woven Fabric) หรือผ้าสักหลาด(Felted Fabric) เป็นอุปกรณ์ที่แยกฝุ่นออกจากกระแสก๊าซที่มีประสิทธิภาพสูง ชั้นฝุ่นที่สะสมอยู่บนผ้ากรองนี้จะช่วยกรองอนุภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง เครื่องกรองแบบถุงต้องทำความสะอาดเป็นครั้งคราว เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่เข้าหาผ้ากรอง อนุภาคอาจถูกจับเนื่องจากกลไกหลายอย่างได้แก่การสกัดกั้น การกระทบ การแพร่ แรงไฟฟ้า แรงถ่วง และการลอดผ่าน (Sieving) ซึ่งเป็นกลไกที่อนุภาคถูกกักเพราะมีขนาดใหญ่เกินที่จะลอดผ่านช่องว่างได้

กลไกที่สำคัญที่สุดในการจับอนุภาคด้วยเส้นใย คือ การสกัดกั้น การกระทบและการแพร่ ส่วนแรงถ่วง และแรงไฟฟ้าอาจมีความสำคัญหรือไม่ก็ได้แต่ไม่มีกลไกการลอดผ่าน สำหรับถุงกรองนั้นส่วนใหญ่การจับอนุภาคเกิดขึ้นในมวลของอนุภาคที่สะสมเป็นเค้กอยู่บน และในผ้ากรอง นั่นคือกลไกหลักในการจับอนุภาค (การสกัดกั้น การกระทบ และการแพร่)

Wastewater Treatment System

ขั้นตอนของกระบวนการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งออกตามขั้นตอน และลักษณะการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ได้ดังนี้
1. กระบวนการบำบัดขั้นต้น (Primary Treatment Process) กระบวนการบำบัดขั้นต้น มีความประสงค์เพื่อแยกสารต่าง ๆ ปรับสมดุล ปรับค่าพีเอสกำจัดสารแขวนลอย ตกตะกอน และบำบัดสารอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นสูง เป็นต้น กระบวนการบำบัดขั้นต้นได้แก่ การดักด้วยตะแกรง การปรับสมดุล การลอยตะกอน การตกตะกอน เป็นต้น
2. กระบวนการบำบัดขั้นที่สอง (Secondary Treatment Process) กระบวนการบำบัดขั้นที่สอง ใช้ในการบำบัดสารละลายโลหะหนัก สารอินทรีย์แขวนลอย และสารอินทรีย์ละลาย ตัวอย่างกระบวนการบำบัดขั้นที่สอง ได้แก่ การตกตะกอนผลึก ระบบเอเอสการโปรยกรอง แผ่นหมุนชีวภาพ บ่อปรับเสถียร เป็นต้น
3. กระบวนการบำบัดขั้นที่สาม (Tertiary Treatment Process) กระบวนการบำบัดขั้นที่สาม ใช้ในการบำบัดสารมลพิษที่ยังเหลืออยู่เพื่อปรับคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้น สารมลพิษที่ถูกกำจัดในขี้นตอนนี้ ได้แก่ สี โละหนัก สารอาหารไนเทรต เป็นต้น
4. กระบวนการบำบัดขั้นสุดท้าย (Final Treatment Process) กระบวนการบำบัดขั้นสุดท้าย ใช้สำหรับปรับคุณภาพน้ำขั้นสุดท้าย เช่น บ่อแอโรบิก การฆ่าเชื้อโรคด้วยโอโซน หรือคลอรีน เป็นต้น ซึ่งน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วก่อนทิ้งลงแหล่งรับน้ำสาธารณะจะต้องทำการบำบัดให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งของข้อกฎหมายของแหล่งระบายน้ำทิ้งก่อนที่จะระบายลงแหล่งรับน้ำสาธารณะได้

ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ เป็นการแยกอนุภาคของสสารที่มองเห็นออกจากน้ำเสียส่วนใหญ่เป็นการกำจัดของแข็งแขวนลอยขนาดใหญ่ซึ่งสามารถตกตะกอนด้วยตัวเองได้ง่าย การกำจัดไขมัน และน้ำมัน โดยมากจะเป็นขั้นตอนแรกของระบบบำบัดน้ำเสีย
2. ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมีใช้กำจัดของแข็งแขวนลอย หรือของแข็งที่ตกตะกอนด้วยตัวเองได้ช้า และโลหะหนัก ละลายอยู่ในน้ำ เช่น การใส่สารส้มเพื่อกำจัดความขุ่นในน้ำ การกำจัดโลหะหนัก
3. ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ ระบบบำบัดน้ำเสียงทางชีวภาพเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยจุลชีพในการย่อยสลาย และเปลี่ยนสารอินทรีย์ต่าง ๆ ให้เป็นก๊าซลอยขึ้นสู่อากาศ จุลินทรีย์จากการบำบัดน้ำเสียดังกล่าว จะเกิดเป็นตะกอนจึงจำเป็นต้องมีระบบในการบำบัดตะกอนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งในระบบบำบัดน้ำเสียอีกด้วย

HAPPY WORKPLACE

การที่พนักงานทุกคนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนี้ ทางองค์กรมีความตระหนักถึง ความปลอดภัย ความสุข ความรู้ และการอยู่ดีกินดีของพนักงาน และครอบครัวของพนักงานด้วย การออกแบบแนวทางของกิจกรรม เป็นการผสมผสานให้ลงตัว กับประเภทการประกอบกิจการขององค์กรแล้วนั้น เป็นสิ่งสำคัญของการวางแนวทางการบริหารจัดการ องค์กรจึงได้นำแนวทางการ ออกแบบกิจกรรมส่งเสริมความสุขของพนักงานในองค์กร โดยการนำ Happy 8 มาใช้กับองค์กรของเรา ดังนี้
1. Happy Body (สุขภาพดี) : ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Body นี้มาจัดกิจกรรมที่สนับสนุนในเรื่องของ การส่งเสริมให้พนักงานมี สุขภาพดี ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเอง อาทิเช่น การออกกำลังกาย ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Body ในช่วงพัก และเลิกงาน จัดทำโครงการลดหุ่นหุ่นดี ไม่มีโรค การส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬา เป็นต้น
2. Happy Heart (น้ำใจงาม) : ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Heart มาปรับใช้กับองค์กร อาทิเช่น การช่วยเหลือคนพิการในชุมชน และเพื่อนพนักงานที่พิการ การหารายได้ช่วยเด็กยากไร้ ในเขตพื้นที่ตะเวนชายแดน เป็นต้น
3. Happy Family (ครอบครัวดี) : ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Family มาปรับใช้กับองค์กร อาทิเช่น การส่งเสริมให้ลูกของพนักงานได้มีโอกาสนำผลการเรียนที่ตนเองได้ตั้งใจเรียนมาขอสมัครทุนการศึกษากับบริษัทฯ
4. Happy Soul (จิตใจสงบสุข) : ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Soul มาปรับใช้กับองค์กร อาทิเช่น การส่งเสริมให้พนักงานได้ทำบุญตักบาตรในวันเกิด เพื่อทำให้จิตใจสงบ มีสติอยู่เสมอในปฏิบัติงาน รวมถึงพนักงานจะได้มีโอกาสทำบุญในขณะที่ตนเองมาทำงานได้อีกด้วย
5. Happy Relax (ผ่อนคลาย) : ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Relax มาปรับใช้กับองค์กร อาทิเช่น การส่งเสริมให้พนักงานได้ผ่อนคลาย หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน โดยการพาพนักงานไปเที่ยวทะเล ทำบุญตามวัดต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบกิจกรรมในโรงงาน ช่วงเวลาพัก
6. Happy Brain (หาความรู้) : ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Brain มาปรับใช้กับองค์กร เพื่อสร้างให้พนักงานได้เข้าถึงการสื่อสารให้ความรู้ และการพัฒนาความรู้ความสามารถ ให้พนักงานได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยจัดให้มีห้องสมุดในโรงงาน
7. Happy Money (ปลอดหนี้) : ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Money มาปรับใช้กับองค์กร โดยการออกรูปแบบของกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการหารายได้เสริม ในระหว่างทำงาน โดยการจัดให้มีกิจกรรมเปิดตลาดนัดในโรงงาน
8. Happy Society (สังคมดี) : ทางสลาแมนเดอร์ได้นำ Happy Society มาปรับใช้กับองค์กร ในรูปของการรวมกลุ่มกันในพื้นที่ของบริษัทฯ โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนใกล้เคียงโดยรอบ รวมถึงการส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบได้รู้จักเรา การส่งเสริมการเล่นกีฬาสำหรับเด็ก รวมถึงการส่งเสริมให้เด็กนำเวลาว่างหลังเลิกเรียน เข้ามาเล่นกีฬาไม่เข้าหายาเสพติด ลดการมั่วสุมเด็กวัยรุ่นหลังเลิกเรียน โดยการจัดให้มีชมรมฟุตบอลเด็กที่บริษัทฯ รวมถึงชมรมสอนเทควันโดให้กับเด็กชุมชน ปัจจุบันเรามีเด็ก ๆ เข้ามาเรียนเทควันโดจำนวน 65 คน และนักฟุตบอลเด็กที่อยู่ในชุมชนโดยรอบจำนวน 160 คน อีกทั้งผู้ปกครอง ก็มีโอกาสรวมตัวกันเข้ามาเล่นฟุตบอลให้กับบริษัทฯ อีกด้วย

ทั้งนี้ จากหัวข้อที่ได้กล่าวมานี้ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ตามวิสัยทัศน์ พันธ์กิจของบริษัทฯ และนโยบายขององค์กร ส่งผลให้องค์กร เป็นผู้นำทางธุรกิจ ในด้านเครื่องประดับการเจาะร่างกาย ในขณะเดียวกันองค์กรก็ยังอยู่ร่วมกับชุมชนได้ อย่างยั่งยืน